Ep3:ท่องเที่ยวไปในสุมาตรา by Jungle Trek
ทริปนี้พวกเราใช้เวลา 7 วัน ในการท่องเที่ยวเกาะสุมาตรา สาเหตุที่พวกเรามารวมตัวกันและเลือกที่จะไปสุมาตราเหนือเพราะอยากจะไปเห็นลิงอุรังอุตังแบบตัวเป็นๆในป่า อยากไปดำน้ำดูทะเลสวยๆที่ Banyak Island (ใจจริงอยากไป Nias Island ด้วยแต่เวลาไม่พอ และสุดท้ายอยากไปล่องแก่งที่อินโดนีเซีย ล่องแก่งน้ำว้ามาหลายปีแล้วปีนี้ขอล่องแก่งแบบโกอินเตอร์เส้นทางล่องแก่งที่ติดระดับโลกกันบ้าง เลยจะขอแบ่งออกเป็น 3 ep เนื่องจากเรื่องราวมันเยอะมาก ทางเพจจะทยอยนำมาลงให้อ่านกันนะคะ
Ep. 3 ล่องแก่งสุดมันส์ที่ Asahan River
หลังจากใช้ชีวิตติดเกาะที่ Banyak Island เป็นเวลา 3 วันสองคืน พวกเราก็ได้กลับขึ้นมาบนฝั่งเพื่อเดินทางไปยังไฮไลท์สำคัญของทริปนี้ อีกที่หนึ่ง นั้นก็คือ “Asahan River “ ใช้เวลาเดินทางจาก Singkil ประมาณ 6-7 ชม. ไปถึงที่พักประมาณ เกือบเที่ยงคืน จัดแจงธุระส่วนตัวแล้วแยกย้ายกันเข้านอนเพื่อตื่นแต่เช้ามาล่องแก่งสุดมันส์ที่รอคอย
แม่น้ำ Asahan เป็นแม่น้ำสายสำคัญเส้นหนึ่งในสุมาตราเหนือ มีต้นกำเนิดมาจากทะเลสาบ Toba แม่น้ำทั้งสายมีความยาวประมาณ 147 km โดยที่แม่น้ำจะไหลไปทางทิศเหนือ - ตะวันออกตัดผ่านทางตอนบนของหุบเขาลึกในเทือกเขาบาริซานใน Toba Samosir Regency จากนั้นไหลผ่าน Asahan Regency และไหลลงสู่ช่องแคบมะละกาในที่สุด
สาเหตุที่ทำไมเราถึงเลือกมาล่องแก่งที่นี่ ที่ asahan river ทำไมไม่เป็นที่อื่น เนื่องจากว่าเราเองก็ได้สืบค้นข้อมูลการล่องแก่งของเกาะสุมาตรา จนมาพบว่าที่นี่เป็นจุดล่องแก่งติดอับดับ 3 ของโลก
(the 3rd best whitewater rafting in the world, outranked only by the Zambesi in Africa and the Colorado River in the United States.) ซึ่งจริงๆแล้วเราก็ค้นต่อนะว่าจริงรึป่าว แต่ก็เจอแค่ในเวปของอินโดเท่านั่นที่เค้าเคลมไว้แบบนี้ 5555 แต่ก็ไม่เป็นไรอยากลองมาดูว่ามันจริงรึป่าว อาศัยประสบการณ์พวกเราที่แค่เคยล่องแก่งน้ำว้า กับ พายคายัคทะลุถ้ำเซบั้งไฟที่ลาวมาแล้วก็น่าจะพอทำได้นะ(อันนี้คิดเอาเอง 555)
ที่แม่น้ำ asahan เค้าจะมีการจัดงานแข่งขันการล่องแก่งระดับนานาชาติ ชื่องานคือ “The Asahan Whitewater Festival (AWF)” เริ่มต้นจัดงานมากันตั้งแต่ปี 2000 (พศ.2543)เริ่มต้นจากการแข่งขันเรือคายัคระดับนานาชาติก่อน จนถึงปี 2003 แพยางเป่าลมก็ได้เริ่มบรรจุในการแข่งขันด้วย
เส้นทางล่องแก่งของแม่น่ำ asahan มีระยะทางด้วยกันทั้งหมด 22 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 ช่วง แต่ละช่วงมีระดับความยากง่ายต่างกัน โดยมีชื่อเรียกแต่ละช่วงดังนี้
ช่วงที่1: “Never-Ever-Ends” โดยเริ่มล่องจากประตูเขื่อน Siguta-gura จนถึงสะพาน Parhitean มีระยะทาง 3.5 กม. ใช้เวลาในการล่องแก่ง 20 นาที ระดับความยาก 4-5
ช่วงที่2: “Hula-Huli Run” จะเริ่มต้นจากสะพาน Parhitean จนถึงหมู่บ้าน Hula-Huli ระยะทาง 2.5 km. ระดับความยาก 3-4 (ไม่แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น)
ช่วงที่3 : “The Nightmare” ถือว่าเป็นตอนกลางของเส้นทางล่องแก่ง จัดว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดในเส้นทางการล่องแก่งของที่นี่ ระดับความยาก 5-5 plush ต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆเท่านั้นถึงได้รับอนุญาตให้ล่องจุดนี้ได้
ช่วงที่4 : “Halim Run” จัดเป็นช่วงสุดท้ายของการล่องแก่ง เป็นส่วนที่ง่ายที่สุดและปลอดภัยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการล่องจุดนี้ 3.5 ชั่วโมง
และแน่นอนพวกเราได้เล่นทุกช่วงยกเว้นช่วงที่ 3 ซึ่งตอนแรกพวกเราอยากเล่นมากแต่ทางทีมงานของอินโดไม่อนุญาต (พอเรากลับมาจึงมาค้นข้อมูลอีกที แล้วก็คิดในใจว่าดีแล้วที่เค้าไม่ให้พวกเราเล่น เพราะมันแบบว่าอันตรายมากๆ ถ้าตกลงไปในน้ำแล้วคงต้องลาก่อยแน่ๆ) หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าทำธุระส่วนตัวกันเสร็จ พวกเราก็เดินทางกลับสู่เมดานเพื่อเข้าพักและบินกลับประเทศไทยในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น
🚐 Banyak Island - -> (7ชม.) Parhitean village - ->(6 ชม.) Medan
ที่พัก : paddle at asahan hut
🏃🏻กิจกรรม: ระยะเวลา 1 วัน
🔺ล่องแก่งแม่น้ำ asahan
🔺 และชมน้ำตกต่างๆระหว่างทาง แนะนำให้ไปชม น้ำตก ponot มีความสูงถึง 250 เมตร
ปล.หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใดหรืออยากแลกเปลี่ยนข้อมูลทักเข้ามากันได้น๊าา
🌼ฝากติดตามอ่านรีวิวเกี่ยวกับที่เที่ยวบนเกาะสุมาตรากันต่อไปนะคะ ครั้งหน้าเราจะพาขึ้นภูเขาไฟและไปล่องแก่งตัวเปล่าเหมือนลำคลองงูกันนะคะ🌼